วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรม SWiSHmaxการใส่เสียงและEffect

การใส่เสียง
รูปแบบของไฟล์เสียงที่สามารนำเข้ามาใช้งานในโปรแกรม SWiSHmax ได้ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
Ø Wave Sound (*.wav) เป็นรูปแบบไฟล์ที่มีคุณภาพเสียงที่ดี สามารถใช้ได้ในเว็บบราวเซอร์ส่วนใหญ่
โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมเสริม แต่มีขนาดของไฟล์ค่อนข้างใหญ่
Ø MP3 Sound (*.wav) เป็นรูปแบบไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง โดยยังคงคุณภาพเสียงที่ดีมาก เทียบเท่า
CD และด้วยเทคโนโลยี Streaming ทำให้สามรถแสดงผลได้โดยไม่ต้องรอให้อ่าน
จนจบไฟล์
การใส่เสียงลงใน Scene
เข้าสู่โปรแกรม SWiSHmax คลิกที่ปุ่มFile เลือก Importจะปรากฏจอภาพ “Open”
คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ก็บไฟล์เสียง ในช่อง File of type คลิกเลือก MP3 Sounds (*.mp3) เพื่อให้แสดงเฉพาะไฟล์ MP3 แล้วคลิกเลือกไฟล์เสียงที่ต้องการจากนั้นคลิกปุ่ม Open ไฟล์เสียงจะแสดงใน Timeline โดยมีจำนวนเฟรมเท่ากับความยาวของไฟล์เสียง และชื่อไฟล์จะปรากฏในจอภาพ “Outline Panel” และ “Sound Object Panel” เมื่อคลิกที่ปุ่ม Play Movie จะได้ยินเสียงเพลงที่นำเข้ามาใช้คลิกเมนู File>Save As เพื่อบันทึกไฟล์ Movie






จากตัวอย่างจะเห็นว่าไฟล์เสียงที่นำเข้ามาจะใช้เฟรมจำนวน 2951.5 เฟรม ทั้งนี้เพราะไฟล์เสียงนี้จะใช้ระยะเวลาในการเล่น 216.0 วินาที

ประเภทของ Effect
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Effect มีรูปแบบต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และความต้องการของผู้ใช้ซึ่งในโปรแกรม SWiSHmax จะมีรูปแบบของ Effects ต่างๆ ให้เลือกใช้หลายรูปแบบ โดยสามารถแยกประเภทได้ 4 กลุ่ม


รูปแสดง Effect แบบต่างๆ ในโปรแกรม SWiSHmax

Place Effect ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวจากตำแหน่งต่างๆ โดยการกำหนดตำแหน่ง ขนาดให้กับอ็อบเจ็กต์
Basic Effect กลุ่มของการสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่มีรูปแบบการใช้งานทั่วๆ ไป
Authored Effect กลุ่ม Effect ที่ได้มีการติดตั้งมาพร้อมกับโปรแกรม SWiSHmx ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการสร้าง Effect ขึ้นเองจากผู้ใช้งาน โดยการ Save ให้ Effect มีนามสกุล “.sfx”
Core Effect Effect กลุ่มพื้นฐานที่ใช้ในการนำไปสร้าง Effect ใหม่ๆ ไว้ใช้งาน

การกำหนด Effect ให้กับอ็อบเจ็กต์
การทำให้อ็อบเจ็กต์เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ไปตามรูปแบบที่กำหนด เรียกว่า การใส่ Effect ให้กับอ็อบเจ็กต์
สามารถกำหนดได้จากการคลิกเลือกอ็อบเจ็กต์ จากนั้นคลิกปุ่ม Add Effect ใน Timeline Panels

จอภาพของ Timeline Panels กรณีใส่ Effect ให้กับอ็อบเจ็กต์



เมื่อคลิกปุ่ม Add Effect ใน Timeline Panels แล้วให้เลือก Effect ที่ต้องการใช้งานให้กับอ็อบเจ็กต์ โดยในท่นี้กำหนด Effect “Blur” ให้กับอ็อบเจ็กต์ตัวอักษร จะปรากฏช่วงเวลาหรือความยาวในการแสดงผล เรียกว่า “Timeline Object” ใน Timeline Panels



จอภาพของ Timeline Panels กรณีใส่ Effect ให้กับอ็อบเจ็กต์


จากรูป เป็นการกำหนด Effect “Blur” (การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเบลอ) ให้กับอ็อบเจ็กต์จากช่วง Timeline ที่0 ถึง 20 ซึ่ง Effect “Blur” จะแสดงดังรูป

ภาพจาก Frame ที่1


ภาพจาก Frame ที่15





ภาพจาก Frame ที่20

จากภาพแสดงผลของ Effect “Blur” ในแต่ละช่วง Timeline


ส่วนที่1 นางสาวอรทัย ชูมณี http://cid-mulyimrfis.blogspot.com
ส่วนที่2 นางสาวสุณี ขาวเนียม http://khoameam.blogspot.com
ส่วนที่4 นางสาวสนธยา เรืองศรี http://peesontaya.blogspot.com